ตัดสินใจอย่างถูกต้องและทันเวลา

ตัดสินใจอย่างถูกต้องและทันเวลา แบบผู้นำตัวจริง !

คุณเคยมีความลังเลใจบ้างหรือไม่ จนต้องขอกลับไปคิดหรือไตร่ตรองให้รอบคอบดูก่อน ทำให้ต้องเลื่อนวัน ไม่ว่าจะเป็น พรุ่งนี้ มะรืนนี้ สัปดาห์หน้า แล้วเลื่อนวันไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็กลายเป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง ไม่กล้าตัดสินใจเสียที จึงอาจจะส่งผลกระทบการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบัน ที่ได้กล่าวไว้ว่า ปลาเร็วกินปลาช้า ซึ่งใครเป็นคนที่ชอบลังเลหรือผัดวันประกันพรุ่ง ก็จะถ่วงความสำเร็จได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีตัวอย่างบุคคลที่กล้าตัดสินใจ พร้อม How to การตัดสินใจอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งมีอะไรบ้าง มาดูกัน

จุดเริ่มต้นของการตัดสินใจในอดีตจนถึงปัจจุบัน

การตัดสินใจอย่างถูกต้องและทันเวลา เกิดขึ้นเมื่อช่วงสงคราม เพราะเป็นช่วงที่ข้าศึกบุกมาทำให้จะต้องตัดสินใจทันทีและเร็วที่สุดหรือไม่ควรใช้เวลาในการตัดสินใจนานหลายปี เสมือนกับการยิงปืน ถ้ามัวคอยจดจ้องไม่ยิงสักทีก็จะไม่เข้าเป้า จึงต้องเล็งและยิงเลย ถ้ายังไม่เข้าเป้าก็ให้ปรับแล้วยิงไปอีกหลายนัด จนกว่าจะเข้าเป้าได้เอง ถือว่าเป็นการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ช่วงสงครามได้มีการผลิตเครื่องบิน โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาได้ผลิตเครื่องบินเป็นหมื่น ๆ ลำ ในระยะเวลา 2 – 3 ปี เท่านั้น หากผลิตได้ช้าก็จะทำให้ทหารต้องตายเนื่องจากไม่สามารถสู้ข้าศึกได้ แสดงให้เห็นว่าการกล้าตัดสินใจนำไปสู่ความสำเร็จ ไม่ใช่ลังเลหรือคิดวนไปวนมา

ตัวอย่างบุคคลที่กล้าตัดสินใจและประสบความสำเร็จจนโลกยอมรับ

การตัดสินใจของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก่อนเป็น CEO ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก เริ่มต้นจากประวัติการเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งเขาเรียนไม่จบเพราะได้ตัดสินใจลาออกก่อนเพื่อจะมาทำเฟซบุ๊กโดยไม่มีหลักประกันว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ที่เขาได้ตัดสินใจเช่นนี้ เพราะมีแนวคิดว่า ถ้าจะต้องเรียนและทำงานควบคู่ไปด้วย ก็ไม่สามารถทุ่มเทได้เต็มที่ เฟซบุ๊กอาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยความกล้าตัดสินใจของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นเครือข่ายสังคมที่ผู้คนทั้งโลกใช้มากที่สุดจนถึงวันนี้

วิธีการตัดสินใจอย่างถูกต้องและทันเวลา

1.พิจารณาว่าการตัดสินใจส่งผลกระทบกับใครบ้าง : การวิเคราะห์ก่อนการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มต้นด้วยการถามตัวเองว่า ถ้าไม่ตัดสินใจในครั้งนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองหรือบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม หลังจากที่พร้อมตัดสินใจแล้ว ก็ให้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะไปในทิศทางไหน

2.เขียนแนวทางการตัดสินใจเป็นข้อ ๆ : เมื่อมีแนวทางในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ให้เขียนออกมาเป็นข้อ ๆ เช่น แนวทางที่ 1 แนวทางที่ 2 แนวทางที่ 3 แนวทางที่ 4 เป็นต้น เหมือนการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมบอลพรุ่งนี้ที่แต่ละลีกจะมีการคิดคำนวนทีละสเต็ป เผื่อบอลเลื่อน เหตุต่างๆที่ส่งผลต่อการแข่ง คัดภาพรวมมาก่อน จากนั้นให้ลดแนวทางเหลือสักประมาณ 2 – 3 แนวทางก็เพียงพอ เนื่องจากถ้ามีแนวทางมากเกินไป ก็จะทำให้วิเคราะห์ได้ยากขึ้น

3.วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียแต่ละแนวทางในการตัดสินใจ : การวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียในการตัดสินใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเพราะการตัดสินใจบางอย่างเป็นผลดีในระยะสั้นแต่กลับส่งผลเสียในระยะยาวได้ เริ่มต้นด้วยการนำแต่ละแนวทางมาเปรียบเทียบกัน เช่น มีรถยนต์อยู่แล้ว 1 คัน และกำลังจะตัดสินใจว่าจะซื้อรถคันใหม่ดีหรือไม่ จากนั้นได้เขียนข้อดี 3 ข้อ พบว่า รถยนต์คันใหม่เป็นรถรุ่นใหม่ ประหยัดน้ำมันกว่ารถยนต์คันเก่า สมรรถนะดีกว่า ส่วนข้อเสีย คือ จ่ายค่าประกัน จ่ายค่าการดูแลรักษาเพิ่มเติมจากรถยนต์คันแรกที่มีอยู่ เมื่อมาเปรียบเทียบก็สามารถประกอบการตัดสินใจได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานภาพทางการเงินของผู้ตัดสินใจ การคมนาคม ความเก่าหรือใหม่ของรถที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

4.สอบถามความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง : ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการตัดสินใจ เพราะถ้าได้มีการตัดสินใจด้วยตัวเองคนเดียวจะส่งผลกระทบกับคนอื่นได้ การสอบถามความคิดเห็นจึงไม่ควรละเลย เช่น การซื้อรถยนต์ใหม่หนึ่งคันส่งผลต่อครอบครัว ค่าเทอมของลูก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละเดือน จึงจำเป็นต้องตัดสินใจภายในครอบครัวว่าถึงเวลาจะซื้อรถยนต์คันใหม่แล้วหรือไม่ หรือในกรณีทำงานร่วมกันหลายคน อาจจะต้องมีการปรึกษาหัวหน้าทีม เพื่อนร่วมงาน ว่ามีความคิดเห็นไปในทางเดียวกันรึเปล่า หากไม่มีใครเห็นด้วย ก็จะต้องถอยออกมาสักหนึ่งก้าวก่อน จากนั้นให้ศึกษาอย่างละเอียดขึ้นแล้วไปเสนอใหม่เพื่อให้ตัดสินใจว่าดีอย่างไรบ้าง

การตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เมื่อเลือกไปแล้ว ควรมีแผนสำรองด้วยเพราะมีโอกาสที่จะไม่เป็นตามแผน ถ้าไม่มีแผนสำรองก็จะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที ดังนั้น ให้รับรู้ไว้ว่า โอกาสไม่ได้รออยู่เสมอไป การมีแผนสำรองไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลในกรณีฉุกเฉินนั่นเอง