ธุรกิจสินค้าเลียนแบบ ถ้าไม่เจ๋งจริงอย่าได้ทำ

ธุรกิจสินค้าเลียนแบบ ถ้าไม่เจ๋งจริงอย่าได้ทำ

เมื่อปัญหาของนักธุรกิจบางส่วนไม่สามารถคิดสินค้าเอาเองได้ จึงได้พยายามมองหาสินค้าผู้อื่นแล้วนำมาทำเอาเอง โดยใส่แบรนด์ของบริษัทตัวเองลงไป ท้ายสุดแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในสินค้าตัวนั้นจะถือว่ามีความเสี่ยงสูง มีโอกาสความสำเร็จต่ำมาก หากเราไม่มีสายป่านยาวมากพอ ธุรกิจใหญ่ๆที่มีการแข่งขันในสินค้าคล้ายคลึงกันนั้น มักจะต้องมีการอัดฉีด มีการ promote โฆษณาจำนวนมาก เพื่อให้สินค้าของเค้าติดตลาดในที่สุด

ไม่ใช่ว่าการโปรโมทนั้นจะสำเร็จไปทุกครั้งไป โอกาสที่จะขาดทุนหลาย 1,000 ล้านก็มีสูงเช่นกัน เหมือนตัวอย่าง การทำเป๊บซี่หรือโค้ก นี่คือสินค้าแบรนด์เดียวกันแต่เขาสามารถชูโรงขึ้นมาประสบความสำเร็จได้ทั้งสองแบรนด์ ได้แบ่งตลาดมาร์เก็ตแชร์กันไป ทั้งสองค่านนี้มีจุดขายที่แตกต่างกัน ให้ลองสังเกตจากโฆษณาถึงจะไม่ค่อยความคล้ายคลึงกันบ้าง แต่จุดที่น่าสนใจก็คงจะเป็นเรื่องของให้คนติดที่แบรนด์สินค้า ไม่ใช่ที่รสชาติสินค้าเป็นหลัก

การทำแบรนด์ให้ติดตลาด ไม่ใช่เรื่องง่าย

การที่จะทำให้แบรนด์ติดได้นั้น มันจำเป็นที่จะต้องใช้วงเงินลงทุนที่สูง หากวันนี้เราเห็นว่ามาม่าขายดิบขายดีในเซเว่น จะยุคเศรษฐกิจดีหรือตกต่ำก็ขายออกตลอด เราจึงรู้สึกว่าอยากทำมาม่าในแบรนด์เราเองขึ้นมา เมื่อเราลงทุนไปแล้ว แต่สายป่านของเราไม่ได้ยาวมากพอ วงเงินทุนมีจำกัด ท้ายที่สุดเราจะเป็นคนขาดทุนเอง อย่าลืมว่ายิ่งสินค้ามีราคาถูกมาเท่าไหร่ มันก็หมายความว่ากำไรต่อชิ้นเราก็จะน้อยลงไปด้วย

ไฟแรงได้ แต่คิดให้รอบคอบ

คนที่เพิ่งหัดทำธุรกิจ มีไฟแรงมากแค่ไหน ก็แนะนำว่าควรหาสินค้าที่เราสามารถมีจะขายเองได้ หรือหากจะต้องเป็นสินค้าเลียนแบบ เราจะต้องมองเห็นภาพก่อนว่าเราจะขายในตลาดกลุ่มไหนที่แทบจะไม่มีคู่แข่งในสินค้าแบบเดียวกัน เพราะมันคือสถานที่ที่ปลอดภัยที่เราสามารถทำงานเข้ากับบริษัทได้ เมื่อแบรนด์เดิมดังก็เริ่มขยับขยาย แล้วค่อยวิ่งชนกับค่ายยักษ์ใหญ่ แบบนี้น่าจะเป็นการเดินทางแบบปลอดภัยมากกว่าการที่ก๊อปปี้สินค้าแล้วยัดแบรนด์ตัวเอง แล้ว promote โดยที่ขาดประสบการณ์และวงเงินทุนมีจำกัด